ชื่อบทความ หัวเรื่อง และส่วน ของ วิกิพีเดีย:คู่มือการเขียน

ชื่อบทความ

ดูหน้าหลักที่: วิกิพีเดีย:ชื่อบทความ

ชื่อเรื่องควรเป็นชื่อหรือคำอธิบายของหัวข้อซึ่งเป็นธรรมชาติ เป็นกลาง แม่นยำเพียงพอ กระชับและสอดคล้องกับชื่อเรื่องของบทความที่เกี่ยวข้อง หากเกณฑ์เหล่านี้ขัดแย้งกัน ให้พิจารณาข้อดีข้อเสียของคุณสมบัติแต่ละอย่าง

สำหรับคำแนะนำการจัดรูปแบบชื่อบทความ ดู วิกิพีเดีย:ชื่อบทความ#รูปแบบชื่อบทความ ของนโยบาย พึงสังเกตว่า

  • ปกติชื่อบทความ ควรเป็นภาษาไทย และเป็นคำนามหรือนามวลี
  • หากต้องการทำชื่อเรื่องให้เป็นตัวเอน ให้เพิ่ม {{ชื่อเอียง}} ใกล้บนสุดของบทความ หากต้องการใช้ทั้งตัวปกติและตัวเอน ให้ใช้ {{DISPLAYTITLE:''แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์'' (ภาพยนตร์)}} แทน การใช้ตัวเอนควรเข้ากับคู่มือการเขียนว่าด้วยตัวเอน
  • สำหรับวิสามานยนาม (ชื่อคน สิ่งของ สถานที่) ให้ใช้ชื่อที่เป็นชื่อนิยม เป็นชื่อที่คนอื่นจะค้นหาเป็นอันดับแรก เพื่อสะดวกต่อการค้นหา
  • สำหรับบทความที่มีสองชื่อ ซึ่งอาจเป็นบทความที่แปลมาจากภาษาอื่น ให้ทำตัวเน้น ชื่อทั้งสองของบทความ

คำแนะนำซึ่งมีอยู่ที่อื่นใดในคู่มือการเขียนมีผลต่อทุกส่วนของบทความ รวมทั้งชื่อเรื่องด้วย

การจัดระเบียบส่วน

ผังบทความตัวอย่าง (คลิกที่ภาพเพื่อชมขนาดใหญ่กว่า)

ควรเปิดบทความด้วย "ส่วนนำ" ซึ่งเป็นการนำผู้อ่านเข้าสู่เนื้อหา ซึ่งไม่ควรมีหัวเรื่องส่วน ส่วนที่เหลือของบทความอาจแบ่งเป็นส่วน ส่วนย่อย ฯลฯ

ส่วนนำควรเป็นบทสรุปกระชับ สารสนเทศที่เพิ่มใหม่ไม่ถือว่าสำคัญเพียงพอสำหรับส่วนนำเสมอไป คือ ควรวางไว้ในส่วนหรือส่วนย่อยที่เหมาะสมก่อน กล่องข้อมูล ภาพและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องในส่วนนำจะต้องจัดชิดขวา

หากบทความมีหัวเรื่องส่วนอย่างน้อยสี่ส่วน จะปรากฏตารางสารบัญนำทางอัตโนมัติถัดจากส่วนนำ

หากหัวข้อของส่วนมีการกล่าวถึงในรายละเอียดในบทความแยกต่างหาก ให้แทรก {{หลัก|ชื่อบทความ}} ใต้หัวเรื่องส่วนทันที

ส่วนอื่นของบทความ ได้แก่ หมายเหตุบนแก้ความกำกวม (ปกติไว้บนสุดของบทความ) และกล่องข้อมูล (ปกติไว้ก่อนส่วนนำ)

ล่างสุดเป็นหัวข้อ อ้างอิง และ แหล่งข้อมูลอื่น ตามลำดับ

หัวเรื่องส่วน

หัวเรื่องส่วนเป็นไปตามคำแนะนำเดียวกับชื่อเรื่องบทความ (ด้านบน) ข้อกำหนดอื่นที่เกี่ยวกับชื่อเรื่องบทความปกติใช้กับหัวเรื่องส่วนเช่นเดียวกัน

ใช้เครื่องหมายเท่ากับคร่อมหัวเรื่อง คือ ==ชื่อเรื่อง== สำหรับส่วนหลัก ===ชื่อเรื่อง=== สำหรับส่วนย่อยไปเรื่อย ๆ สามารถใส่เครื่องหมายเท่ากับได้มากสุดห้าตัว =====ชื่อเรื่อง===== (งดใช้ =ชื่อเรื่อง=[lower-alpha 1]) บรรทัดที่มีชื่อเรื่องหน้าจะต้องไม่มีเนื้อหาอื่น โดยมีบรรทัดว่างหนึ่งบรรทัดก่อนหน้า บรรทัดว่างหลังจากหัวเรื่องจะมีหรือไม่มีก็ได้และถูกเมิน (แต่อย่าใช้บรรทัดว่างสองบรรทัด เพราะจะทำให้เกิดที่ว่างไม่พึงประสงค์) การเว้นช่องไฟในหัวเรื่อง (เช่น == ชื่อเรื่อง ==) จะมีหรือไม่มีก็ได้ และถูกเมิน

นอกจากนี้

  • หัวเรื่องไม่ควรอ้างซ้ำซ้อนถึงเรื่องของบทความ (ปฐมวัย, ไม่ใช้ ปฐมวัยของสมิธ หรือ ปฐมวัยของเขา) หรือถึงหัวเรื่องระดับสูงกว่า ยกเว้นว่ากระทำเช่นนั้นแล้วจะสั้นหรือชัดเจนกว่า
  • ปกติหัวเรื่องไม่ควรมีลิงก์ โดยเฉพาะหากบางส่วนของหัวเรื่องเป็นการโยง
  • หัวเรื่องส่วนควรใช้ชื่อที่ไม่ซ้ำกัน มิฉะนั้นการโยงส่วนอาจนำให้ไปผิดที่ และคำอธิบายอย่างย่ออัตโนมัติสำหรับการแก้ไขเฉพาะส่วนจะกำกวม
  • ไม่ควรวางการอ้างอิงอยู่ในหัวเรื่องส่วน หรืออยู่ในบรรทัดเดียวกัน
  • หัวเรื่องไม่ควรมีภาพ เช่น สัญรูปหรือมาร์กอัพ <math> เพราะจะเกิดปัญหาสภาพเข้าถึงได้
  • หัวเรื่องไม่ควรเป็นคำถาม

ความเห็นที่มองไม่เห็นในบรรทัดเดียวกับหัวเรื่องควรอยู่ในมาร์กอัพ == ==[lower-alpha 2] ดังนี้

==การส่อความ<!--ความเห็นนี้ใช้การได้ดี-->== ==<!--ความเห็นนี้ใช้การได้ดี-->การส่อความ== ==การส่อความ==<!--ความเห็นนี้ก่อปัญหา--> <!--ความเห็นนี้ก่อปัญหาเช่นกัน-->==การส่อความ==

ก่อนเปลี่ยนหัวเรื่องส่วน พิจารณาก่อนว่าคุณอาจกำลังทำลายการโยงไปส่วนนั้นที่มีอยู่เดิม หากมีการโยงจำนวนมากไปชื่อเก่าของส่วน ให้สร้างจุดตรึง (anchor) ที่ใช้ชื่อนั้นเพื่อรับรองว่าการโยงจะยังใช้การได้ ในทำนองเดียวกัน เมื่อโยงไปส่วนหนึ่งของบทความให้เขียนความเห็นที่มองไม่เห็นที่ส่วนหัวของส่วนเป้าหมาย โดยตั้งชื่อบทความที่โยงให้เพื่อที่หากมีการเปลี่ยนชื่อเรื่องส่วนแล้วจะแก้ไขบทความที่โยงมา ตัวอย่างเช่น

==การส่อความ<!--ส่วนนี้โยงมาจาก [[ริชาร์ด ดอว์กินส์]] (ดู [[MOS:HEAD]])-->==

เนื้อหาคล้ายหัวเรื่อง:

ข้อกำหนดเหล่านี้หลายข้อยังใช้กับเนื้อหาที่ใช้การทำหน้าที่พื้นฐานเช่นเดียวกับหัวเรื่อง ตัวอย่างเช่น หัวตาราง (และหัวสดมภ์และแถวตาราง) ควรเป็นไปตามข้อแนะนำข้างต้นเกี่ยวกับความซ้ำซ้อน ภาพและคำถาม ว่า หัวตารางสามารถใช้การอ้างอิงและอาจขึ้นต้นด้วยจำนวนได้ หัวตารางไม่สร้างจุดตรึงการโยงอัตโนมัติต่างจากหัวเรื่องของหน้า

ใกล้เคียง

วิกิพีเดียภาษาไทย วิกิพีเดีย วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ วิกิพจนานุกรม วิกิพีเดียภาษาสเปน วิกิพีเดียภาษาคาซัค วิกิพีเดียภาษาอินโดนีเซีย วิกิพีเดียภาษารัสเซีย วิกิพีเดียภาษาไซลีเซีย วิกิพีเดียภาษากาตาลา